วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Week 1 ... 2 June 2009

Chapter 1 Introduction
  • Data Comm.
การสื่อสารข้อมูล เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือข้อมูลกันระหว่างอุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร โดยต้องมีสื่อในการโอนข้อมูลกัน แต่การสื่อสารนั้นจะต้องอาศัยทั้ง Hardware & Software

- องค์ประกอบของการสื่อสาร
  1. Message ทั้งข้อความ ตัวเลข ภาพ เสียง หรือ วีดีโอ
  2. Sender เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ส่งข้อมูลได้ เช่น คอมฯ โทรศัพท์ กล้องวีดีโอ
  3. Receiver เป็นอุปกรณ์ที่ใช้รับข้อมูลได้ เช่น คอมฯ โทรศัพท์ กล้องวีดีโอ
  4. Medium เป็นสื่อการที่ใช้ในการส่งข้อมูล
  5. Protocol เป็นกฎหรือข้อกำหนดในการสื่อสาร
- การสื่อสารแบบ Simplex
การ สื่อสารแบบนี้จะสามารถเดินได้ทางเดียวเท่านั้น คือ ผู้ส่งจะทำหน้าที่ในการส่งอย่างเดียว สำหรับผู้รับก็จะทำหน้าที่รับอย่างเดียวเช่นกัน ตัวอย่างการสื่อสารแบบ Simplex เช่น คีย์บอร์ดและจอภาพบางชนิด

- การสื่อสารแบบ Half-Duplex
การ สื่อสารแบบนี้ทั้งผู้ส่งผู้รับสามารถทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลได้ เพียงแต่ไม่สามารถกระทำพร้อมกันได้เท่านั้น ณ เวลาใดๆจะมีเพียงแค่อุปกรณ์เดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ ตัวอย่างการสื่อสารแบบ Half-Duplex เช่น วิทยุสื่อสาร

- การสื่อสารแบบ full-Duplex
เป็น การสื่อสารที่ทั้งผู้รับและผู้ส่งสามารถรับ-ส่งข้อมูลพร้อมๆกันได้ ในการส่งข้อมูลแบบนี้อาจต้องใช่สื่อในการส่งข้อมูลร่วมกัน โดยจะต้องมีการแบ่งช่องสัญญานสำหรับการรับหรือการส่งข้อมูล ตัวอย่างการสื่อสารแบบ full-Duplex เช่น โทรศัพท์

  • Network
หมาย ถึง กลุ่มของอุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารหรือที่เรียกกันว่า"โหนด" ที่ทำการเชื่อมโยงกันโดยใช้สื่อในการรับส่งข้อมูล เช่น คอมฯ พรินเตอร์ หรืออะไรก็ตามที่สามารถรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์อื่นได้

- ประเภทของการเชื่อมโยง
  1. Point to Point เป็นการเชื่อมโยงที่ต้องใช้สื่อในการส่งข้อมูลเพียงสายเดียวระหว่างโหนด 2 โหนด ถ้ามีโหนดมากกว่านั้นจะต้องเพิ่มสื่อที่ใช้ในการส่งข้อมูลด้วย เนื่องจากไม่สามารถใช้สื่อร่วมกันได้ ดังนั้นสื่อที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อกันของโหนดจะต้องถูกจองอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะไม่มีการรับส่งข้อมูลกันในขณะนั้นก็ตาม
  2. Multipoint เป็นการเชื่อมโยงแบบหลายจุด Multidrop เป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างโหนดหลายๆโหนดโดยใช้สื่อเพียงเส้นดียวหรือเป็น การใช้สื่อในการส่งข้อมูลร่วมกันนั่นเอง
- Topology
  1. Mest Topology โหนดแต่ละโหนดจะเชื่อมโยงกันแบบจุดต่อจุด
  2. Star Topology จะมีโหนดเป็นโหนดเป็นศูนย์กลางเรียกว่า Hub โดยที่โหนดทุกโหนดจะไม่เชื่อมโยงกันโดยตรงเหมือน Mest แต่จะทำการเชื่อมโยงเข้ากับ Hub แบบจุดต่อจุด
  3. Bus ใช้การเชื่อมโยงแบบหลายจุด โดยที่โหนดทุกโหนดจะต้องเชื่อมโยงกับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า Bus ซึ่งทำหน้าที่เป็น backbone ของระบบ
  4. Ring โหนดแต่ละโหนดจะเชื่อมโยงกันแบบจุดต่อจุด โดยที่โหนดหนึ่งจะเชื่อมโยงอยู่กับโหนกไกล้เคียงอีก 2 โหนด สัญญานจะถูกส่งกันเป็นทอดๆ และการส่งนั้นจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันจนกระทั่งถึงปลายทาง
- Network types
  1. Local Area Networks (LANs) เป็นเครื่อข่ายที่อุปกรณ์ต่างๆจะอยู่บริเวณไม่ไกลกันมากนัก ใช้งานในองค์กรเล็กๆ เช่นภายในสำนักงาน ภายในมหาวิทยาลัย
  2. Backbone Networks มีการทำงานคล้าย LANs แต่ได้ในระยะที่ไกลกว่า
  3. Metropolitan Area Networks (MAN) ใหญ่กว่า LANs มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งเมือง เอาไว้ติดต่อระหว่างจังหวัด
  4. Wide Area Networks (WANs)
    เครือข่ายมีขนาดใหญ่ อาจจะเป็นการส่งระหว่างประเทศ ทวีป หรือทั่วโลก
  • Internet
- Internet types
  1. Point-to-point access ซึ่งแบ่งออกเป็น 56kbs ซึ่งไม่สามารถใช้โทรศัพท์ไปพร้อมกันได้และ ADSL ที่สามารถใช้โทรศัพท์ไปพร้อมกันได้
  2. Cable modem เป็นการเชื่อมต่อผ่านทาง Cable ซึ่งมีอัตราการรับ-ส่งข้อมูลมากกว่า ADSL
- Intranet VS Extranet
  1. Intranet คือ Private LANs ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับ Internet โดยที่ไม่มีใครสามารถเชื่อมต่อผ่านทาง Internet เข้ามาใช้ได้
  2. Extranet คือ Private LANs ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับ Internet โดยที่บุคคลภายนอกที่ได้รับอนุญาตสามารถเชื่อมต่อผ่านทาง Internet เข้ามาใช้ได้