วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Week 4 ... 23 June 2009

  • Composite signal
- คลื่น sine wave หนึ่งมีความถี่เดียว
- คลื่นซับซ้อนประกอบด้วยหลายความถี่
- สัญญาณสามารถสร้างได้จากสัญญาณ wave แบบง่ายมารวมกัน เช่น sine wave
- การแยกคลื่นเหล่านี้ออกมา โดยการใช้ Fourier Analysis
  • Time และ Frequency domain
ปกติเรามองสัญญาณใน time-domain แต่เราสามารถ plot เป็น frequency-domain ได้
  • Spectrum & Bandwidth
Spectrum คือ ช่วงความถี่ของคลื่น
Bandwidth คือ ค่าความแตกต่างระหว่าง ช่วงของความถี่สูงที่สุด ถึงช่วงความถี่ต่ำสุด BW = fmax – fmin
  • ปริมาณการส่งข้อมูลของช่องทางการสื่อสาร (Channel Capacity)
- อัตราในการส่งข้อมูลของช่องทางการสื่อสาร อยู่ภายใต้ข้อจำกัดในการสื่อสารต่างๆ
- ปริมาณในการส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับ

1. Data rate อัตราในการส่งข้อมูล มีหน่วยเป็น บิตต่อวินาที (bps)
2. Bandwidth ความกว้างของช่องทางในการส่งข้อมูล ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวส่งข้อมูล และตัวกลางในการส่งข้อมูล มีหน่วยเป็น Hertz
3. Noise คลื่นสัญญาณรบกวน
4. Error rate อัตราความผิดพลาดในการส่งข้อมูล

- กรณีไม่มีสัญญาณรบกวน

1. Noise ทำให้ความสามารถในการเคลื่อนย้ายข้อมูลลดลง
2. Signal-to-noise ratio อธิบายระดับของการรบกวน
3. S=กำลังส่งสัญญาณ (watts) , N=กำลัง noise (watts)
4. SNR วัดเท่าของกำลังสัญญาณส่งกับกำลัง noise

SNR สูงสัญญาณคุณภาพดี
SNR ต่ำสัญญาณคุณภาพไม่ดี

5. Data rate สูงสุดถ้ามี noise หาจากสูตร shannon
  • Exponential Function
ฟังก์ชันที่สามารถเขียนได้ในรูป y = a-x เมื่อ a > 0 และ a ¹ 1 เช่น y = 2x
- y = a0 = 1
- y = a ¹ = a
- y = a-x = 1/ax
- y = am+ an= am+n
  • Logarithmic Function
ฟังก์ชันที่เขียนในรูป y = logax เมื่อ x เป็นจำนวนจริงบวกและ a เป็นจำนวนจริงบวกที่ไม่เท่ากับ 1logax อ่านว่า ลอการิทึมของเอกซ์ฐานเอ
- loga1 = 0
- logaa = 1
- loga1/x = -logax
- loga(x*y) = logax + logay
- loga(x/y) = logax - logay
- logaxy = ylogax

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Week 3 ... 16 June 2009

  • Transmission Media
Media ที่ใช้สำหรับ รับ/ส่งข้อมูลสามารถจำแนกออกได้ 2 ประเภท

- Guided Media

1. Twisted-Pair Cable (สายตีเกลียว) ประกอบด้วยตัวนำสองเส้น (มักใช้ทองแดง) โดยแต่ละเส้นจะมีฉนวนหุ้ม ตีเกลียวคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อหักล้าง สัญญาณรบกวน ที่อาจเหนี่ยวนำเกิดขึ้นในสายทั้งสองเส้นสำหรับสายคู่ตีเกลียว สายเส้นหนึ่งจะใช้เป็นตัวนำสัญญาณ ในขณะที่อีกเส้นหนึ่งจะใช้เป็น Ground อ้างอิง ซึ่งอุปกรณ์ทางด้านรับจะพิจารณาสัญญาณจาก ความต่างศักดิ์ระหว่างสายทั้งสอง
2. Coaxial Cable คือ สายนำสัญญาณที่มีแกนกลางทำจากทองแดง 2 เส้นเป็นตัวนำสัญญาณโดยแบ่งออกเป็น
- Baseband คือ การส่งสัญญาณที่มีเพียงช่องสัญญาณเดียวใน Cable ใช้ในสมัยก่อน
- Broadband คือ การส่งสัญญาณที่มีหลายช่องสัญญาณใน Cable ใช้ในปัจจุบัน
โดยทั้ง Twisted Pair และ Coaxial Cable ต่างใช้ Electrical Signal (สัญญาณไฟฟ้า) เป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณ
3. Fiber Optic Cable คือ สายนำสัญญาณใยแก้วที่ใช้แสงเป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณ มีการรับส่งข้อมูลตั้งแต่ 10 Gps ขึ้นไป และไม่มีสัญญาณรบกวน

- Unguided Media

1. Terrestrial Microwave (สัญญาณไมโครเวฟ) เป็นสัญญาณที่เวลาส่งระหว่างผู้รับกับผู้ส่งต้องไม่มีอะไรมาบังสัญญาณ ถ้ามีก็จะส่งไม่ได้ โดยสามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 45 Mbps/Channel
2. LANS ตัวอย่างเช่น Wi-Fi เป็นต้น Wi-Fi เป็นสัญญาณที่ส่งกันในระยะทางใกล้ๆ โดยมีความเร็วตั้งแต่ 2 Mbps, 11 Mbps, 54 Mbps จนถึง 74 Mbps (อันนี้อยู่ในขั้นทดลอง) และสามารถถูกรบกวนได้โดยสภาพแวดล้อม
3. Wide-area ตัวอย่างเช่น ระบบ 3G บนมือถือเป็นต้นซึ่งมีอัตราการรับส่งอยู่ที่ 100 kbps
4. Satellite (สัญญาณดาวเทียม) คือ ระบบที่มีการส่งสัญญาณเหมือนสัญญาณไมโครเวฟ โดยสามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 45 Mbps/Channel หรือ แบ่งเป็น ช่องเล็กๆหลายๆช่องก็ได้ มี Delay อยู่ที่ 270 msec เท่านั้น
  • Decimal and Binary
ฐาน 2 มีเลข 0,1
ฐาน 8 มีเลข 0,1,2,3,4,5,6,7
ฐาน 10 มีเลข 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9
ฐาน 16 มีเลข 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9,A,B,C,D,E,F

Chapter 3 Data and Signals
  • Data
คือ ข้อมูลหรืออะไรต่างๆที่เข้ามาและมีความหมาย เช่น ไฟล์ในคอมพิวเตอร์ เพลงในแผ่น CD
  • Signals
คือ รูปแบบสัญญาณไฟฟ้า หรือแม่เหล็กที่แทนข้อมูลเช่น สัญญาณเสียงของโทรศัพท์
สัญญาณแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ Analog signals , Digital
signal

- Analog Data
สัญญานไฟฟ้าในแบบต่อเนื่อง (continuous signal)
ลักษณะสัญญาณมีพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงความถี่ (frequency) ในแบบแกว่งขึ้นลง (oscillation) เช่น เดียวกับรูปแบบ sine wave
ตัว อย่างสัญญานอะนาล็อก เช่นที่เกิดขึ้นในอุปกรณ์เครื่องเล่นเสียง เกิดจากแหล่งกำเนิดเสียงอย่างไมโครโฟน มีรูปของสัญญานเปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่องในลักษณะ ขึ้น-ลงแบบ sine wave ตลอดช่วงหนึ่งของเวลา

- Digital Signal
สร้างจากข้อมูลดิจิตอลด้วยการใช้สัญลักษณ์ เช่น (1 หรือ 0) ใช้การเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณทางไฟฟ้า
อัตรา และความสามารถในการส่งผ่านช่องทางสื่อสาร(channel) วัดอยู่ในหน่วย บิท ต่อ วินาที (bit per second) เช่น โมเด็ม มีอัตราการส่งผ่านข้อมูล 56 Kbit / sec. (56 * 1000 bps)
ข้อมูล 0, 1 แทนที่ด้วย ระดับแรงไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาหนึ่ง 0 ด้วย low voltage, 1 แทนด้วย high voltage
  • Periodic and Aperiodic signal
  1. Periodic signal คือสัญญาณมีลักษณะซ้ำเมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่งหรือเมื่อครบรอบเวลาหนึ่งAperiodic
  2. signal คือสัญญาณที่ไม่มีรูปแบบซ้ำ เหมือนการ random สัญญาณ ทั้งสัญญาณ analog และ digital สามารถเป็นทั้ง Periodic และ Aperiodic
  • องค์ประกอบสัญญาณ Analogue
  1. แอมปลิจูด (Amplitude): วัดจากค่าแรงดันไฟฟ้า มีหน่วยเป็น (volt)
  2. ความถี่ (Frequency): จำนวนของไซเคิลต่อวินาที มีหน่วยเป็น เฮิรตซ์ (Hz)
  3. คาบ (Period): ระยะเวลาที่สัญญาณเปลี่ยนแปลงครบหนึ่งรอบ มีหน่วยเป็น วินาที , T=1/f
  4. เฟส (Phase): มุมองศาของสัญญาณเมื่อเวลาเปลี่ยนไป

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Week 2 ... 9 June 2009

  • Protocol
ข้อกำหนดหรือกฎของการสื่อสารข้อมูล เช่น การรับส่งข้อมูลจะต้องทำอย่างไรบ้าง หรือเมื่อไหร่จึงจะทำการรับส่งข้อมูลกันได้

- องค์ประกอบหลัก
  1. Syntax หมายถึง format or structure ของข้อมูล
  2. Semantics หมายถึง ความหมายของข้อมูลที่ได้รับมา
  3. Timing เป็นข้อกำหนดของเวลาในการรับส่งข้อมูล
  • Standard
มาตรฐานจำเป็นต้องมีเพื่อให้เกิดความเป็นสากลและยังถูกกำหนดเพื่อให้อุปกรณ์ทุกชิ้นสามารถที่จะทำงานร่วมกันได้

- รูปแบบของมาตรฐาน
  1. De facto เป็นมาตรฐานที่เกิดขึ้นจากการยอมรับจากคนทั่วไป ไม่ต้องมีองค์กรใดทำหน้าที่ในการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานนี้
  2. De jure เป็นมาตรฐานที่ได้ผ่านการรับรองอย่างถูกกฎหมายแล้ว
- องค์ประกอบที่กำหนดมาตรฐาน
  1. ISO (International Organization for Standardization) เป็นองค์กรที่มีสมาชิกจากทั่วโลกมาช่วยกันกำหนดมาตรฐานขึ้นโดยจะเน้นกำหนดมาตรฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ
  2. ITU-T (International Telecommunications Union Telecom Group) เป็นองค์กรหนึ่งที่กำหนดมาตรฐานในเรื่องของการสื่อสารข้อมูลและโทรศัพท์
  3. ANSI (American National Standards Institute) เป็นองค์กรอิสระที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยไม่มุ่งเน้นในเรื่องของการแสดงหาผลกำไรและไม่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลกลางของAmerica
  4. IEEE (Institute of Electrical and Electronic Engineers) เป็นองค์กรที่เป็นศูนย์รวมของนักวิชาการทางด้านวิศวกรรมและเหล่าบรรดาวิศวกรที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  5. IETF (Internet Engineering Task Force) เป็นองกรค์ที่กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับ Internet

Chapter 2 Network Models
  • Layered Tasks
- รูปแบบของ Layered Tasks
  1. Single layer implementation คือ การทำงานแบบชั้นเดียวที่รวมทุกอย่างไว้ในชั้นเดียว
  2. Multi layer implementation คือ การทำงานแบบหลายชั้น ทำงานจากการสั่งจากชั้นบนลงสู่ชั้นล่าง
  • The OSI Model
Seven layers of the OSI model
- Physical Layer
- Data Link Layer
- Network Layer
- Transport Layer
- Session Layer
- Presentation Layer
- Application Layer
  • TPC/IP Protocol Suite
- Physical Layer and Data Link Layers
- Network Layer
- Transport Layer
- Application Layer
  • Addressing
- Specific Address
- Port Address
- Logical Address
- Physical Address

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Week 1 ... 2 June 2009

Chapter 1 Introduction
  • Data Comm.
การสื่อสารข้อมูล เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือข้อมูลกันระหว่างอุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร โดยต้องมีสื่อในการโอนข้อมูลกัน แต่การสื่อสารนั้นจะต้องอาศัยทั้ง Hardware & Software

- องค์ประกอบของการสื่อสาร
  1. Message ทั้งข้อความ ตัวเลข ภาพ เสียง หรือ วีดีโอ
  2. Sender เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ส่งข้อมูลได้ เช่น คอมฯ โทรศัพท์ กล้องวีดีโอ
  3. Receiver เป็นอุปกรณ์ที่ใช้รับข้อมูลได้ เช่น คอมฯ โทรศัพท์ กล้องวีดีโอ
  4. Medium เป็นสื่อการที่ใช้ในการส่งข้อมูล
  5. Protocol เป็นกฎหรือข้อกำหนดในการสื่อสาร
- การสื่อสารแบบ Simplex
การ สื่อสารแบบนี้จะสามารถเดินได้ทางเดียวเท่านั้น คือ ผู้ส่งจะทำหน้าที่ในการส่งอย่างเดียว สำหรับผู้รับก็จะทำหน้าที่รับอย่างเดียวเช่นกัน ตัวอย่างการสื่อสารแบบ Simplex เช่น คีย์บอร์ดและจอภาพบางชนิด

- การสื่อสารแบบ Half-Duplex
การ สื่อสารแบบนี้ทั้งผู้ส่งผู้รับสามารถทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลได้ เพียงแต่ไม่สามารถกระทำพร้อมกันได้เท่านั้น ณ เวลาใดๆจะมีเพียงแค่อุปกรณ์เดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ ตัวอย่างการสื่อสารแบบ Half-Duplex เช่น วิทยุสื่อสาร

- การสื่อสารแบบ full-Duplex
เป็น การสื่อสารที่ทั้งผู้รับและผู้ส่งสามารถรับ-ส่งข้อมูลพร้อมๆกันได้ ในการส่งข้อมูลแบบนี้อาจต้องใช่สื่อในการส่งข้อมูลร่วมกัน โดยจะต้องมีการแบ่งช่องสัญญานสำหรับการรับหรือการส่งข้อมูล ตัวอย่างการสื่อสารแบบ full-Duplex เช่น โทรศัพท์

  • Network
หมาย ถึง กลุ่มของอุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารหรือที่เรียกกันว่า"โหนด" ที่ทำการเชื่อมโยงกันโดยใช้สื่อในการรับส่งข้อมูล เช่น คอมฯ พรินเตอร์ หรืออะไรก็ตามที่สามารถรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์อื่นได้

- ประเภทของการเชื่อมโยง
  1. Point to Point เป็นการเชื่อมโยงที่ต้องใช้สื่อในการส่งข้อมูลเพียงสายเดียวระหว่างโหนด 2 โหนด ถ้ามีโหนดมากกว่านั้นจะต้องเพิ่มสื่อที่ใช้ในการส่งข้อมูลด้วย เนื่องจากไม่สามารถใช้สื่อร่วมกันได้ ดังนั้นสื่อที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อกันของโหนดจะต้องถูกจองอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะไม่มีการรับส่งข้อมูลกันในขณะนั้นก็ตาม
  2. Multipoint เป็นการเชื่อมโยงแบบหลายจุด Multidrop เป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างโหนดหลายๆโหนดโดยใช้สื่อเพียงเส้นดียวหรือเป็น การใช้สื่อในการส่งข้อมูลร่วมกันนั่นเอง
- Topology
  1. Mest Topology โหนดแต่ละโหนดจะเชื่อมโยงกันแบบจุดต่อจุด
  2. Star Topology จะมีโหนดเป็นโหนดเป็นศูนย์กลางเรียกว่า Hub โดยที่โหนดทุกโหนดจะไม่เชื่อมโยงกันโดยตรงเหมือน Mest แต่จะทำการเชื่อมโยงเข้ากับ Hub แบบจุดต่อจุด
  3. Bus ใช้การเชื่อมโยงแบบหลายจุด โดยที่โหนดทุกโหนดจะต้องเชื่อมโยงกับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า Bus ซึ่งทำหน้าที่เป็น backbone ของระบบ
  4. Ring โหนดแต่ละโหนดจะเชื่อมโยงกันแบบจุดต่อจุด โดยที่โหนดหนึ่งจะเชื่อมโยงอยู่กับโหนกไกล้เคียงอีก 2 โหนด สัญญานจะถูกส่งกันเป็นทอดๆ และการส่งนั้นจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันจนกระทั่งถึงปลายทาง
- Network types
  1. Local Area Networks (LANs) เป็นเครื่อข่ายที่อุปกรณ์ต่างๆจะอยู่บริเวณไม่ไกลกันมากนัก ใช้งานในองค์กรเล็กๆ เช่นภายในสำนักงาน ภายในมหาวิทยาลัย
  2. Backbone Networks มีการทำงานคล้าย LANs แต่ได้ในระยะที่ไกลกว่า
  3. Metropolitan Area Networks (MAN) ใหญ่กว่า LANs มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งเมือง เอาไว้ติดต่อระหว่างจังหวัด
  4. Wide Area Networks (WANs)
    เครือข่ายมีขนาดใหญ่ อาจจะเป็นการส่งระหว่างประเทศ ทวีป หรือทั่วโลก
  • Internet
- Internet types
  1. Point-to-point access ซึ่งแบ่งออกเป็น 56kbs ซึ่งไม่สามารถใช้โทรศัพท์ไปพร้อมกันได้และ ADSL ที่สามารถใช้โทรศัพท์ไปพร้อมกันได้
  2. Cable modem เป็นการเชื่อมต่อผ่านทาง Cable ซึ่งมีอัตราการรับ-ส่งข้อมูลมากกว่า ADSL
- Intranet VS Extranet
  1. Intranet คือ Private LANs ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับ Internet โดยที่ไม่มีใครสามารถเชื่อมต่อผ่านทาง Internet เข้ามาใช้ได้
  2. Extranet คือ Private LANs ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับ Internet โดยที่บุคคลภายนอกที่ได้รับอนุญาตสามารถเชื่อมต่อผ่านทาง Internet เข้ามาใช้ได้

Thank you ^^

ตอนแรก....ต้องบอกเลยว่าเรียนยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ แต่พออาจารย์ให้ทำบล็อกขึ้นมา ทำให้ต้องหาความรู้เพิ่มเพื่อเอามาทำบล็อกจะเอาอันที่เรียนที่ห้องมาจริงๆ ก็กระไรๆอยู่ คงได้แค่ นิสเดียว แต่มันก็ดีมากเลยค่ะเพราะการที่เราต้องอ่านหนังสือเพิ่มทำให้เข้าใจจริงๆ แล้วก็เลยมีข้อมูลมาทำบล็อกซะเยอะ

Thank u Prof.