วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Week 5 ... 14 July 2009


Chapter 4 Digital Transmission
  • Coding

ข้อมูลต่างๆที่ถูกเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็น ตัวอักษร รูปภาพ เสียง วีดีโอ เป็นต้น จะถูกจัดเก็บในรูปแบบของบิตข้อมูล (1 หรือ 0) และการที่เราจะสามารถส่งบิตข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งจะต้องแปลงให้อยู่ในรูปของสัญญานเสียก่อนจึงสามารถส่งผ่านสื่อกลางชนิดต่างๆได้ ซึ่งกระบวนการแปลงบิตข้อมูลให้อยู่ในรูปของสัญญานดิจิตอล จะเรียกว่า Line coding

  • Manchester

วิธีการนี้จะมีการเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าจากบวกเป็นลบเมื่อบิตข้อมูลมีค่าเป็น '0' แลวถ้าบิตข้อมูลมีค่าเป็น '1' จะมีการเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าจากลบเป็นบวก นอกจากนั้นแล้วการเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้านั้นจะมีการเปลี่ยนช่วงตรงกลางของบิตข้อมูล

  • Sampling

- Pulse Amplitude Modulation (PAM)

เทคนิคแบบนี้จะทำการ sampling หรือ สุ่มสัญญาณ Analog ตามช่วงเวลาต่างๆ โดยจะแบ่งแต่ละช่วงเวลาของการ sampling ให้เท่าๆกัน ผลที่ได้จากการ sampling จะเป็นลักษณะลำดับของ pluse และขนาดของ pluse จะเป็นสัดส่วนโดนตรงกับสัญญาน Analog

- Pluse Code Modulation (PCM)

เทคนิคการแปลงสัญญานแบบ PCM นี้สัญญาน analog จะถูกควอนไตซ์ หรือกำหนดค่าตัวเลขให้กับ Pluse และขนาดของ Pluse ที่ได้จากการ sampling จะถูกให้เปลี่ยนอยู่ในรูปของเลขฐานสอง เมื่อได้กลุ่มตัวเลขที่เป็นบิตของข้อมูลแล้วก็จะสามารถแปลงให้อยู่ในรูปสัญญาน digital ได้ โดยการให้เทคนิคของ lind coding

  • Transmission Modes

- Parallel Mode

เป็นการส่งข้อมูลออกไปพร้อมกันได้คราวละหลายบิต แต่วิธีการนี้ถ้าเราต้องการที่จะส่งข้อมูลจำนวน n บิตแล้ว จะต้องใช้สายตามจำนวน n สายด้วย

- Serial Mode

เป็นกานส่งข้อมูลที่ใช้สายส่งเพียงเส้นเดียว ดังนั้นบิตของข้อมูลที่ถูกส่งจะเรียงตามลำดับกันออกไป โดยปกติแล้วการส่งข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์จะใช้วิธีการส่งข้อมูลแบบขนาน แต่การส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ภายนอกแล้วอาจจะเป็นการส่งข้อมูลแบบอนุกรมก็ได้

- Asynchronous transmission

เป็นการส่งข้อมูลครั้งละไบต์ การส่งข้อมูลแบบนี้ไม่ต้องอาศัยสัญญานนาฬิกาในการคุมจังหวะของการส่งข้อมูล ดังนั้นฝ่ายรับข้อมูลจึงไม่สามรถทราบเวลาที่แน่นอนของข้อมูลที่จะเข้ามาได้ ดังนั้นในแต่ละไบต์ที่ส่งออกไปจึงต้องบิตเริ่มต้น (start bit) ซึ่งกำหนดค่าเป็น '0' และบิตสุดสิ้นสุด (stop bit) ซึ่งจะกำหนดค่าให้เป็น '1' วิธีการนี้ต้องอาศัยบิตเริ่มต้นและบิตสิ้นสุด โดยแต่ละไบต์นั้นมีช่องว่างเกิดขึ้นระหว่างไบต์ของ ขู้อมูลด้วย เนื่องจากการส่งข้อมูลแบบนี้ไม่ต้องอาศัยสัญญานใดๆคอยควบคุมการส่งข้อมูล ดังนั้นวิธีการนี้จึงเหมาะกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วต่ำ เช่น key board เป็นต้น

- Synchronous

วิธีการส่งข้อมูลแบบนี้ไม่ต้องอาศัยบิตเริ่มต้นและบิตสิ้นสุด อีกทั้งยังสามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละหลายๆไบต์ต่อเนื่องกันเป็น 'เฟรม'ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีช่องว่าง (gap) ระหว่างไบต์ของข้อมูล ฝ่ายรับข้อมูลจะต้องทำหน้าที่ในการแยกเฟรมข้อมูลที่ได้ออกมาเป็นไบต์เอง
  • Analog Modulation

เป็นการส่งข้อมูล digital ในสายวงจร analogue

มี 3 วิธีในการส่งข้อมูล digital โดยใช้สัญญาณ analogue โดย modulate ข้อมูลเข้ากับคลื่น carrier เรียกว่าการ keying

- ASK : amplitude shift keying

- FSK : frequency shift keying

- PSK : phase shift keying

- ASK :amplitudeshiftkeying

สัญญาณมี amplitude 2 ค่าต่างกันแทนค่า bit 0,1

On-off keying แทนรูปแบบที่ง่ายโดยใช้คลื่น carrier

วิธี On-off keying ใช้ได้ดีกับการส่งแบบ optical fiber

วิธีนี้ไม่น่าเชื่อถือกรณีมีสัญญาณรบกวนมากทำให้ระดับความสูงสัญญาณลดลงผู้รับไม่สามารถตีความได้

ถ้าส่งสัญญาณเสียงสามารถเร็วได้ 1200 bps


- FSK : frequency shift keying

ใช้ความต่างของความถี่แทนbit ที่มีค่า 1 หรือ 0

การ modulate ความถี่นั้นจะมี noise น้อยกว่า ASK

สามารถส่งเป็น full duplex สัญญาณความถี่ต่างกันในการรับ ส่งสัญญาณ

ถ้าส่งสัญญาณเสียงสามารถเร็วได้ 1200 bps

ใช้ในการส่งคลื่นวิทยุความถี่สูง

- PSK : phase shift keying

อาศัยการเปลี่ยนมุมของคลื่น carrier แทนข้อมูล

วิธีนี้ความถูกต้องสูง ทนทานต่อ noise แต่ซับซ้อน

PSK กลับ phase 180 องศาถ้ามีการเปลี่ยนค่า bit และ DPSK จะมีการกลับเฟส 180 องศาเมื่อพบ bit = 1 แต่ bit = 0 ไม่ต้องกลับเฟส

  • Bit rate and baud rate

Baud rate คือจำนวนสัญญาณหรือ symbol ในหนึ่งหน่วยเวลาไม่จำเป็นต้องเท่า bit rate

บางที่เรียก modulation rate หรือ signaling rate

สัญญาณ 2 ระดับ bit rate = baud rate

จำนวน bit ต่อ element b=log2M R=bit rate,D=baud rate,b=signal element